บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันเท่านั้นโปรดทราบ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แจ่วบอง

แจ่วหรือ น้ำพริก เป็นอาหารที่ชาวอีสานนิยมรับประทานกัน  เพราะทำได้ง่ายมีเครื่องปรุงไม่มากนัก  แค่มีพริกและปลาร้าในครัวก็สามารถทำแจ่วได้แล้ว  ด้วยความที่ทำได้ง่ายจึงจะพบว่าอาหารของชาวอีสานเกือบทุกมื้อจะต้องมีแจ่วเป็นอาหารหลักๆแน่นอน  ชาวอีสานนิยมรับประทานแจ่วกับผักที่เก็บได้จากรั้วบ้าน  หรือกับพวกเนื้อย่าง  ปลาย่าง หรือนึ่ง  ปัจจุบันถึงแม้วิถีชีวิตของชาวอีสานจะเปลี่ยนไปแต่อาหารต่างโดยเฉาะแจ่วไม่ได้เสื่อมความนิยมลงไปเลย  เพราะเหตุนี้เราจึงหาทานแจ่วแบบอีสานได้ทั่วๆไป

น้ำพริกปลาร้า

แซ่ บอย่างมีคุณค่าหากจะถามถึงผู้คิดค้นสูตรการทำปลาร้าซึ่งเป็นตำรับอาหารอัน ลือชื่อของชาวอีสานคงไม่สามารถหาคำตอบได้คาดเดาได้เพียงว่าด้วยเหตุที่ปลา ทางภาคอีสานมักมีมากในฤดูฝนเท่านั้นการทำปลาร้าหรือปลาหมักจึงเป็นวิธีการ อย่างหนึ่งที่ชาวบ้านจะสามารถถนอมอาหาร (ปลา)เก็บไว้กินได้นานๆ แม้นอกฤดูฝนแล้ว ก็ตาม

ปลา ร้าหนึ่งในอาหารหมักหลายๆชนิดที่มักมองว่าเป็นอาหารที่มีกระบวนการทำที่ไม่ ค่อยสะอาดมีกลิ่นที่ไม่น่าพิสมัยหลายคนในเมืองจึงปฏิเสธที่จะกินอาหารชนิด นี้อย่างสิ้นเชิงโดยไม่รู้ว่า ปลาร้า ก็มีประโยชน์ทางด้านโภชนาการเหมือนกันปลาร้า อาจเรียกได้ว่าเป็นอาหารจานโปรดของชาวอีสานเลยก็ได้ เพราะไม่ว่ามื้อไหนๆเรามักจะได้เห็น ปลาร้า วางอยู่ในสำรับอาหารเสมอปลาร้าที่นำมาประกอบเป็นอาหารนั้น มักจะมีทั้งเนื้อและน้ำซึ่งการกินส่วนมากก็จะกินแยกกัน อย่างชาวอุบลราชธานีนิยมกินน้ำปลาร้าโดยจะใช้แทนน้ำปลาเลย เพราะมีรสเค็มเนื่องจากในกระบวนการหมักจะใช้เกลือถึงร้อยละ 30 ของเนื้อปลาน้ำพริก ปลาร้า หนึ่งในตำรับอาหารของชาวอีสานที่พบอยู่ในสำรับอาหารแทบทุกครัวเรือนผักนานา ชนิดถูกนำมาต้มและรับประทานสดๆ จิ้มกับน้ำพริกปลาร้า แซ่บอย่าบอกใคร



ข้าวจี่

นิยมรับประทานกันในฤดูหนาวเพราะชาวบ้านจะมานั่งจะมานั่งผิงไฟแล้วทำการจี่ข้าวกันไปผิงไฟกันไปเป็นการแก้หนาวและอีกเหตุผลหนึ่งช่วงนี้เป็นช่วงหลังเก็บเกี่ยวข้าวเหนียวที่ได้จะมีกลิ่นหอมนุ่มเหมาะแท้ที่จะนำมาทำการจี่กิน ด้วยเหตุนี้ในช่วงฤดูหนาวจึงเหมาะที่จะจี่ข้าวกินกัน








ลาบปลาดุก


“ลาบ” เป็น อาหารประเภทหนึ่ง ที่ใช้ปลาหรือเนื้อดิบสับให้ละเอียด ผสมด้วยเครื่องปรุงมีพริก ปลาร้า เป็นต้น ถ้าใส่เลือดวัวหรือเลือดหมู เรียกว่า “ลาบเลือด” ชาวอีสานทุกครัวเรือน มักนิยมทำอาหารประเภทลาบ ในงานบุญต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานบวชพระ งานศพ งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
“ลาบปลาดุก” ก็ เป็นอาหารประเภทหนึ่งในบรรดาลาบทั้งหมดที่ขึ้นชื่อของอาหารอีสาน และทุกภาครู้จักกันดี เนื่องจากปลาดุกเป็นปลาน้ำจืดที่หาได้ในท้องถิ่น มีรสมัน หวาน เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด และก้างน้อย จึงนิยมนำมาประกอบอาหารประกอบ

ส้มตำ

ส้มตำ เป็น อาหารยอดนิยมของคนไทย(อาจจะรวบถึงชาวต่างชาติอีกมากมาย ที่รู้จักประเทศไทยจากส้มตำ)ในทุกๆภาคในปัจุบันโดยเฉพาะคนอีสานพบได้ทุกสถาน ที่ โดยเฉพาะตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น ทะเล ภูเขา น้ำตก ฯลฯ จะพบอาหารนี้ได้ทุกซอก ทุกมุม ซึ่งหารับประทานได้ง่ายตามสถานที่ทั่วไป แม้แต่ตามซอกซอย ตามภัตตาคารหรือตามห้างต่างๆ เรียกว่า ส้มตำเป็นอาหารจานโปรดของทุกคนเลยก็ได้ ทำเอาพ่อค้าแม่ขายอาชีพนี้รวยไปตามๆ กัน ส้มตำมีหลายประเภท ได้แก่ ส้มตำไทย, ส้มตำไทยใส่ปู, ส้มตำปูใส่ปลาร้า, ส้มตำลาวใส่มะกอก ส้มตำมักรับประทานกับข้าวเหนียว และแกล้มกับผักชนิดต่างๆ และที่ขาดไม่ค่อยได้เลยคือไก่ย่าง  ซึ่งจะพบว่าร้านส้มตำเกือบทุกร้านจะต้องขายไก่ย่างควบคู่กันไปด้วย
     ส้มตำ เป็น ภาษากลางที่ใช้เรียกกันทั่วไป ชาวอีสานเรียก ตำบักหุ่ง หรือตำส้ม ส้มตำของชาวอีสานมีความหลากหลายมาก พืชผัก ผลไม้ ชนิดต่างๆ ก็สามารถนำมาตำรับประทานได้ทั้งสิ้น เช่น ตำมะละกอ ตำถั่วฝักยาว ตำกล้วยดิบ ตำหัวปลี ตำมะยม ตำลูกยอ ตำแตง ตำสับปะรด ตำมะขาม ตำมะม่วง เป็นต้น ซึ่งจะมีรสชาติที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท  แต่โดยรวมๆแล้วจะเน้นที่ความมีรสจัดจ้านถึงใจและเน้นที่ความเปรี้ยวนำ


วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แซบอิหลี


      หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย
     ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว
     เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา